ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้เอกชน 14 รายที่ซื้อเอกสารการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ยื่นข้อเสนอฯ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา มีเอกชนเพียง 2 กลุ่มที่มายื่นข้อเสนอ ประกอบด้วย 1.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM โดยยื่นข้อเสนอในนาม BEM มีผู้รับเหมางานโยธาคือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) มีเอกสารประกอบการยื่นข้อเสนอรวมกว่า 300 กล่อง 2. ITD Group โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ร่วมกับบริษัทขนส่งอินชอน (Incheon Transit Corporation) ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินประเทศเกาหลีใต้ มีเอกสารมายื่นข้อเสนอกว่า 100 กล่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดให้ยื่นซองครั้งนี้ เป็นการประมูลรอบใหม่ (ครั้งที่ 2) หลังจากก่อนหน้านี้ รฟม. ได้ประกาศยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ครั้งแรก ซึ่งครั้งนั้นมีเอกชนยื่นข้อเสนอ 2 ราย ได้แก่ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) อย่างไรก็ตามการยื่นข้อเสนอในครั้งนี้บีทีเอส ไม่ได้มายื่นข้อเสนอเหมือนครั้งที่ผ่านมา
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า สาเหตุที่กลุ่มบีทีเอสไม่เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการประมูลรถไฟฟ้าสีส้มรอบใหม่ เนื่องจากพบว่า รายละเอียดข้อกำหนดในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents : RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ฉบับใหม่ มีเงื่อนไขแตกต่างไปจากครั้งแรก และเป็นเงื่อนไขที่มีข้อกำหนดคุณสมบัติแบบเลือกผู้รับเหมา
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บีทีเอสได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางไปแล้วด้วย เพื่อขอให้พิจารณาเงื่อนไขประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มรอบใหม่ ในข้อกำหนดเงื่อนไขในสาระสำคัญเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ที่มีเจตนากีดกันบริษัทฯ ไม่ให้มีโอกาสเข้าแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และยังเอื้อประโยชน์ให้ผู้เสนอราคารายหนึ่งรายใดอย่างชัดเจนที่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
ด้านนายวิทูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการปฏิบัติการและวิศวกรรมระบบราง BEM กล่าวว่า บริษัทฯ มีพันธมิตรคือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ซึ่งการประมูลครั้งนี้เรามีความมั่นใจ เพราะมีประสบการณ์ความรู้ในการทำงานในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินอย่างมาก โดยมีโครงการต่างๆ พิสูจน์ผลงานให้เห็นแล้ว เชื่อว่าประสบการณ์ทั้งหมดจะทำให้สามารถดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันเราพร้อมทั้งบุคลากร และงบประมาณลงทุน ส่วนหลักเกณฑ์ที่ รฟม. เคร่งครัดด้านเทคนิค โดยเฉพาะอุโมงค์นั้น ทาง ช.การช่าง มีประสบการณ์ด้านนี้อยู่แล้ว เห็นได้จากผลงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จึงมีความมั่นใจมาก
ขณะที่ นายประคิน อรุโณทอง รองประธานบริหาร สายงานธุรกิจก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ITD กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ร่วมพันธมิตรกับ Incheon Transit Corporation ได้เจรจากับบริษัทไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เป็นบริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ด้านการเดินรถในเกาหลีใต้ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี จึงหวังว่าจะเป็นหนึ่งตัวเลือกในการพิจารณาของ รฟม. ส่วนกรณีที่ รฟม.ตั้งหลักเกณฑ์ด้านเทคนิคค่อนข้างสูงนั้น ไม่น่ามีประเด็นอะไรที่น่ากังวล เพราะมีประสบการณ์ด้านงานอุโมงค์มาแล้ว เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มาครั้งนี้เราจึงสู้เต็มที่ ส่วนการประมูลครั้งที่ผ่านมาไม่มีความพร้อมด้านการเดินรถ แต่ครั้งนี้คิดว่ามีความพร้อมแล้ว เพราะได้บริษัทเดินรถเกาหลีใต้ร่วมเป็นพันธมิตร คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รฟม. มีกำหนดเปิดซองข้อเสนอของเอกชนในวันที่ 1 ส.ค. นี้ และวางเป้าหมายจะลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในปลายปี 65 ส่วนที่บีทีเอสฟ้องร้องคดีก็ให้เดินไปตามกระบวนการ เพราะเป็นสิทธิของบีทีเอส ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.4 หมื่นล้านบาท ค่างานโยธา 9.6 หมื่นล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้าบริหารการเดินรถ ซ่อมบำรุง 3.2 หมื่นล้านบาท คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กม. อย่างไรก็ตามหลังจาก รฟม.ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ก.พ.64 รฟม.ได้ปรับแผนการดำเนินงานโครงการ เบื้องต้นคาดว่าจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. ในเดือน ส.ค.68 (เป้าหมายเดิมจะเปิดบริการในปี 66) จากนั้นจะเปิดให้บริการส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. ในเดือน ธ.ค.70