ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ยังไม่ยอมผ่านร่างกฎหมายงบประมาณช่วยเหลือทางการทหารชุดใหม่มูลค่า 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับยูเครน
นี่ทำให้ชาติในยุโรปต้องระดมสมองหาทางช่วยยูเครนเมื่อวานนี้ 27 ก.พ. ผู้นำฝรั่งเศสได้เชิญผู้นำจากชาติยุโรป 20 ชาติเข้าร่วมประชุม ก่อนจะออกมาแถลงข่าวว่า จะไม่ตัดความเป็นไปได้ในการส่งทหารเข้าไปช่วยยูเครน อย่างไรก็ตาม หลายชาติออกมาปฎิเสธคำแนะนำและทางเลือกนี้ ขณะที่รัสเซียก็ได้ออกมาเตือนถึงผลกระทบที่จะตามมาหากยุโรปตัดสินใจส่งทหารจริง
ยูเครน-รัสเซีย ส่งสัญญาณสู้รบเดือดรับปี 2024
รัสเซีย เตรียมเปิด ‘ปฏิบัติการโจมตี’ ช่วงฤดูร้อน
หลังการแถลงของประธานาธิบดีมาครงว่าจะไม่ตัดความเป็นไปได้ในการส่งทหารช่วยเหลือยูเครน ผู้นำชาติยุโรปรายแรกๆ ที่ออกมาประกาศไม่เห็นด้วยคือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ผู้นำเยอรมนี โดยระบุว่า ยินดีที่ฝรั่งเศสพยายามหาทางสนับสนุนให้ยูเครนแข็งแกร่งขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันคือ ชาติยุโรปและนาโตจะไม่ส่งทหารเข้าไปช่วยบนแผ่นดินยูเครน
จุดยืนของเยอรมนีถูกตอกย้ำอีกครั้ง โดยบอริส พิสโตริอุส รัฐมนตรีกลาโหมของเยอรมนี ที่ได้ระบุระหว่างแถลงข่าวร่วมกับคลอเดีย แทนเนอร์ รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรียว่า การส่งทหารภาคพื้นดินเข้าไปช่วยยูเครนรบ ไม่ใช่ทางเลือกสำหรับเยอรมนี
ชาติพันธมิตรอีกกลุ่มหนึ่งที่ออกมาปฏิเสธทางเลือกนี้คือกลุ่มประเทศยุโรปกลาง โดนัลด์ ตุสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการประชุมร่วมกับ วิคเตอร์ ออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี และปีเตอร์ ฟิอาลา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็ก ที่กรุงปราก เมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก ก็ออกมาประกาศจุดยืนในทิศทางเดียวกันกับเยอรมนี นั่นก็คือ ไม่เห็นด้วยกับการส่งทหารเข้าไปยูเครน
อีกชาติหนึ่งที่ออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของผู้นำฝรั่งเศสคือ สหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา พลจัตวา แพทริก ไรเดอร์ โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ออกมาแถลงข่าวระบุว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ มีจุดยืนที่ชัดเจนมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นสงครามว่า จะไม่ส่งทหารภาคพื้นดินเข้าไปในยูเครน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่สงครามจะยกระดับและลุกลามบานปลาย และสิ่งที่สหรัฐฯ พยายามทำในขณะนี้ คือการเร่งกระบวนการจัดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และความช่วยเหลืออื่นๆ ที่จำเป็นให้แก่ยูเครน
ทั้งนี้ หลังผู้นำชาติต่างๆ ได้ออกมาแสดงจุดยืนต่อข้อเสนอการส่งทหารของประธานาธิบดีมาครง สเตฟาน เซเจิร์น รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสก็ได้ออกมาขยายความดังกล่าว โดยระบุว่า เจ้าหน้าที่ทหารที่ส่งไปบนแผ่นดินยูเครนอาจไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่สู้รบ แต่อาจเข้าไปให้ความช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ เช่น การกำจัดทุ่นระเบิด การป้องกันด้านไซเบอร์หรือการประกอบอาวุธที่แนวรบ
ทำไมชาติเหล่านี้จึงไม่เห็นด้วยกับการส่งทหารเข้าไปยูเครน ชาติเหล่านี้เกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต ซึ่งมีหัวใจสำคัญอยู่ที่กฎบัตรมาตราที่ 5 ที่ประเทศสมาชิกมีพันธะหน้าที่จะต้องร่วมกันปกป้องหากมีประเทศสมาชิกใดถูกโจมตี
นี่จึงทำให้นาโตเป็นองค์กรประกันความมั่นคงที่อาศัยหลัก ‘ป้องปราม’ หรือ deterrence เพื่อไม่ให้ประเทศใดกล้าเปิดฉากโจมตีใส่ก่อน เพราะจะต้องเผชิญการโต้กลับจากกลุ่มชาติพันธมิตร อย่างไรก็ดี เนื่องจากมาตราที่ 5 การส่งทหารจากชาตินาโตเข้าไปหมายถึงการเปิดสงครามโดยตรงกับรัสเซีย และนั่นอาจนำไปสู่สงครามใหญ่ในยุโรป
ขณะเดียวกัน ทางการรัสเซียก็ออกมาขู่หลังประธานาธิบดีฝรั่งเศสระบุว่าจะไม่ตัดความเป็นไปได้ในการส่งทหารไปช่วยยูเครน โดยเตือนว่า รัสเซียรับรู้ความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะรัสเซียของผู้นำฝรั่งเศสแล้ว และชาติยุโรป รวมถึงนาโตควรคิดให้ดีก่อนว่า การส่งทหารเข้าไปช่วยยูเครนเป็นผลประโยชน์ของตนเองหรือไม่
การส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือยูเครน เป็นข้อเสนอที่เกิดขึ้นมาระหว่างการประชุมของผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในยุโรปรวม 20 ชาติ เพื่อระดมหาแนวทางสนับสนุนยูเครนที่กำลังเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำภายในหมู่ชาติพันธมิตรยุโรปกันเอง
เนื่องจากช่วงระยะหลังที่ผ่านมา พันธมิตรรายใหญ่อย่างสหรัฐฯ มีท่าทีว่าอาจอ่อนแรงในการสนับสนุนยูเครนลง ไม่ว่าจะจากความล่าช้าในการอนุมัติร่างงบประมาณความช่วยเหลือทางการทหารระลอกใหม่เป็นเวลาหลายเดือน หรือจากโอกาสที่สหรัฐฯ จะเปลี่ยนทิศทางนโยบายต่อสงครามยูเครนหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน
ที่ผ่านมา ชาติพันธมิตรหลายชาติในยุโรป รวมถึงสหภาพยุโรปต่างก็ส่งกระสุนและอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อช่วยยูเครนในการต้านทานรัสเซียและพยายามยกระดับการสนับสนุนเช่นกัน อย่างไรก็ดี จำนวนอาวุธที่ชาติพันธมิตรในยุโรปสามารถส่งมอบให้แก่ยูเครนไม่ได้มากพอที่จะชดเชยส่วนที่ขาดหายไปจากสหรัฐฯ ได้ ส่วนกำลังการผลิตกระสุนก็ไม่ได้มีมากนักและผลิตได้ไม่ทันต่อความต้องการ
ประเด็นการส่งทหารเข้าไปช่วยสู้รบในยูเครนจึงผุดขึ้นมาในวงพูดคุยของผู้นำยุโรป แต่ก็เป็นที่ชัดเจนว่านี่เป็นข้อเสนอที่ไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง และการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ยังคงเป็นฉันทมติหลักในหมู่ชาติพันธมิตร
ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังคงพยายามหาทางจัดส่งอาวุธเข้าไปเพิ่มเติม เพื่อให้ยูเครนยังมีกำลังตั้งรับและตรึงการรุกของรัสเซียต่อได้ เมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีไบเดนได้เชิญสมาชิกสภาคองเกรสจากพรรครีพับลิกันที่คัดค้านการผ่านร่างงบประมาณช่วยเหลือทางการทหารให้ยูเครน เข้าหารือที่ทำเนียบขาวอีกครั้ง
เมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้เชิญ สว.ชัค ชูเมอร์ ผู้นำพรรคเดโมแครตในวุฒิสภาสหรัฐฯ , สว.มิตช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาสหรัฐฯ , ไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และฮาคีม เจฟฟรีส์ ผู้นำพรรคเดโมแครตในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เข้าหารือที่ทำเนียบขาว เพื่อหาทางผ่านร่างงบประมาณสนับสนุนยูเครนมูลค่า 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ชะงักงันมาเป็นเวลาหลายเดือน จากความขัดแย้งระหว่างพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันให้ผ่านออกมาให้ได้
ร่างฉบับล่าสุดที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณา คือร่างที่แยกงบประมาณความช่วยเหลือยูเครนและชาติพันธมิตรเพิ่มเติมออกมาพิจารณาเป็นการเฉพาะ จากนโยบายความมั่นคงชายแดนและผู้อพยพแล้ว เพื่อลดโอกาสที่นักการเมืองพรรครีพับลิกันจะปัดตกด้วยข้ออ้างว่า นโยบายความมั่นคงชายแดนที่เคยผนวกอยู่ในร่างเดียวกันนั้น ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
โดยขณะนี้ ร่างฉบับที่เหลือเพียงงบประมาณช่วยเหลือยูเครนกำลังจะเตรียมเข้าสู่สภาคองเกรส หลังจากที่วุฒิสภาลงมติเห็นชอบไปแล้ว
ประธานาธิบดีไบเดนจึงพยายามหาทางเร่งให้สภาคองเกรสยอมผ่านร่างงบประมาณช่วยเหลือยูเครนให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ยูเครนกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบรัสเซียที่แนวรบ และเผชิญกับความท้าทายในการตั้งรับไม่ให้รัสเซียขยับแนวรบเข้ามาเพิ่มได้ ยิ่งไปกว่านั้น จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ยูเครนมีแนวโน้มสูงที่จะเสียพื้นที่เพิ่มให้แก่ยูเครนภายในอีกหนึ่งเดือนหรือสองเดือน หากสภาคองเกรสยังไม่ผ่านร่างความช่วยเหลือฉบับใหม่ออกมา
หลังการหารือร่วมกันระหว่างประธานาธิบดีไบเดนและผู้นำรัฐสภาสหรัฐฯ ผู้นำพรรคเดโมแครตในวุฒิสภาได้ออกมาเปิดเผยว่า บรรยากาศการพูดคุยประเด็นที่เกี่ยวกับยูเครนเป็นไปอย่างตึงเครียด แต่ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันถึงความเร่งด่วนที่ต้องส่งมอบอาวุธให้แก่ยูเครนคำพูดจาก เกมสล็อตเว็บแท้
แต่บุคคลที่หลายฝ่ายจับตามองอย่างมากคือ ไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสังกัดพรรครีพับลิกันและเป็นผู้ที่กุมชะตาว่า ร่างงบประมาณช่วยเหลือยูเครนจะสามารถเข้าสู่สภาผู้แทนราษฏรได้หรือไม่ โดยประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ออกมาแถลงข่าวหลังการหารือว่า การปฏิรูปนโยบายผู้อพยพและการควบคุมชายแดนยังคงเป็นสิ่งที่เขาให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง ก่อนที่จะกลับเข้าไปหารือแบบตัวต่อตัวกับประธานาธิบดีไบเดน ก่อนหน้านี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเคยออกมาส่งสัญญาณว่าอาจจะไม่พิจารณาร่างที่ไม่ได้ผนวกรวมนโยบายผู้อพยพเข้าไปด้วย
ในวันที่ยูเครนขาดแคลนอาวุธ สถานการณ์ของรัสเซียดูเหมือนจะดีกว่า ถึงแม้จะเสียหายอย่างหนักในช่วงการทำสงคราม 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการที่รัสเซียได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธลับๆ จากเกาหลีเหนือ เมื่อวานนี้
กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ออกมาเปิดเผยว่า เกาหลีเหนือจัดส่งกระสุนปืนใหญ่ให้กับรัสเซียในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาเพื่อแลกกับอาหารและของที่จำเป็นอื่นๆ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ชิน วอน-ชิก ระบุในระหว่างการแถลงข่าวประจำวันว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เกาหลีเหนือมีการจัดส่งอาวุธจำนวนมากให้กับรัสเซียเพื่อแลกกับอาหารและสิ่งของที่จำเป็นอื่นๆ โดยอาวุธหลักๆ ที่เกาหลีเหนือส่งให้รัสเซียคือ กระสุนปืนใหญ่ขนาด 155mm ที่คาดว่าน่าจะมีกว่า 3 ล้านลูก ทั้งหมดคิดเป็นจำนวนรวม 6,700 ตู้คอนเทนเนอร์
การเปิดเผยของเกาหลีใต้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุเมื่อวันศุกร์ว่า เกาหลีเหนือนำส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และวัสดุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 10,000 ตู้คอนเทนเนอร์ไปให้รัสเซียตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายนที่แล้ว
โดยรัสเซียได้มีการส่งเสบียงอาหารราว 9,000 ตู้คอนเทนเนอร์ไปให้เกาหลีเหนือเพื่อเป็นการตอบแทน
ผลบอลเอฟเอ คัพ รอบ 5 แมนซิตี้ ถล่ม ลูตัน 6-2 ลิ่วรอบ 8 ทีม
ผลจับสลากเอฟเอ คัพ รอบ 8 ทีม ลิเวอร์พูล ดวล แมนยู ศึกแดงเดือด
หลังฉากชีวิต "บิ๊กโจ๊ก" ตายแล้วฟื้น เส้นใหญ่จริงไหม ?