เมื่อวันที่22เม.ย.นายศักดิ์สยามชิดชอบรมว.คมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ผ่านการประชุมทางไกลว่าที่ปรึกษาได้นำเสนอการคัดเลือกพื้นที่ทางเลือกท่าเรือที่เหมาะสมที่สุดฝั่งอันดามันจ.ระนองคือพื้นที่แหลมอ่าวอ่างและฝั่งอ่าวไทยจ.ชุมพรคือพื้นที่แหลมริ่ว
เนื่องจากพื้นที่ทั้ง2ฝั่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้20ล้านTEUตามผลการคาดการณ์ปริมาณสินค้าที่จะเข้ามาที่ยังแลนด์บริดจ์รวมทั้งยังสามารถขยายท่าเรือในอนาคตให้สามารถรองรับปริมาณสินค้าได้มากถึง40ล้านTEUเทียบเท่ากับปริมาณสินค้าที่ท่าเรือสิงคโปร์ในปัจจุบันและอยู่ใกล้กับร่องน้ำลึกรองรับการเข้าใช้งานของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่และตำแหน่งท่าเรือยังสอดคล้องกับผลการศึกษาแนวเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)และระบบรางMR8ชุมพร-ระนอง ด้วย
นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่าผลการศึกษาเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในระยะเริ่มต้นประมาณ4แสนล้านบาททั้งนี้ได้เร่งรัดให้เสนอคณะทำงานบูรณาการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามันกับแหล่งมรดกทางธรรมชาติพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันระหว่างกระทรวงคมนาคมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาในประเด็นผลกระทบกับพื้นที่มรดกโลกและพื้นที่อุทยานแห่งชาติต่อไปพร้อมกันนี้ได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)และที่ปรึกษาศึกษาปริมาณสินค้าและแผนทางการพัฒนาความสามารถในการรองรับสินค้าของโครงการแลนด์บริดจ์ให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้โครงการมีความน่าสนใจคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่ารวมทั้งให้สามารถแข่งขันกับโครงการการพัฒนาท่าเรือในประเทศต่างๆอาทิ โครงการEast Coast Rail Link (ECRL)และโครงการมะละกาเกตเวย์ในประเทศมาเลเซียและโครงการดาราสาครในประเทศกัมพูชารวมถึงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่าให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการค้าและอุตสาหกรรมครบวงจรได้แก่เขตส่งเสริมธุรกิจเกี่ยวเนื่องเช่นการธนาคารการประกันภัยเป็นต้นเขตส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมดิจิตัลเขตอุตสาหกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มและเขตส่งเสริมการลงทุนปลอดภาษีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะเดียวกันให้พิจารณาข้อกฎหมายที่สนับสนุนการดำเนินโครงการเช่นการตราพ.ร.บ.ฉบับใหม่สำหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้หรือการแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพ.ศ.2561โดยการขยายพื้นที่โครงการและพิจารณาข้อจำกัดและแนวทางการดำเนินการของพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ.2562สำหรับกรณีโครงการที่มีเจ้าของโครงการหลายหน่วยงานเป็นต้นและได้เร่งรัดให้สนข.จัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดเพื่อนำเสนอThai Landbridge Modelในเวทีการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปคครั้งที่52 (APEC Transportation Working Group : TPTWG 52)พร้อมเตรียมโรดโชว์ทั้งในและต่างประเทศเพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนทั่วโลกรวมถึงประชาสัมพันธ์เชิงรุกทั้งในระดับพื้นที่โครงการและนักลงทุนต่างประเทศในช่องทางต่างๆ